Toggle navigation
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
สัตว์
พืช
จุลินทรีย์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับ TH-BIF
การพัฒนา TH-BIF
หน่วยงานเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูล
การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวทางปฏิบัติในการสร้างธรรมมาภิบาลข้อมูลของระบบคลังข้อมูลฯ
ข้อมูลเชิงพื้นที่
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่นำร่อง
ข้อมูลสำรวจ
แผนที่แสดงข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย NEW
ข้อมูลเฉพาะเรื่อง
สถานภาพการคุกคาม
ทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
พรรณพืชและพรรณสัตว์ในพระนาม
สถานะอนุสัญญา CITES
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพ
ผู้เชี่ยวชาญ
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
เอกสารเผยแพร่
แบบประเมินผลความพึงพอใจ
แบบประเมินความพึงพอใจ NEW
LOGIN
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
หน้าแรก
ข้อมูลสิ่งมีชีวิต
Vatica diospyroides
Vatica diospyroides
ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเต็ม:
Status:
ACCEPTED
Synonyms
- Vatica fleuryana Tardieu
ชื่อไทย:
-
จันทน์กะพ้อ
ชื่อท้องถิ่น::
-
เขี้ยวงูเขา (พังงา), จันทน์พอ จันทน์พ้อ (ภาคใต้)
ปีที่ตีพิมพ์:
2549
ที่มา :
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินช้อนอันเนื่องมาจากพระระราชดำริ
ปรับปรุงล่าสุด :
27 พ.ค. 2568
ที่มา :
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินช้อนอันเนื่องมาจากพระระราชดำริ
ปรับปรุงล่าสุด :
27 พ.ค. 2568
วันที่อัพเดท :
19 ธ.ค. 2566 09:34 น.
วันที่สร้าง:
19 ธ.ค. 2566 09:34 น.
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา :
-
เป็นไม้ต้นใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 6-15 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มโปร่งไม่ค่อยสวย มีใบน้อย ต้นแตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด กิ่งเปราะ มีน้ำยางใสซึมออกมาตามรอยแตก ใบเดี่ยว ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่สีเขียวเข้มเป็นมัน รูปรีแกม ขอบขนานหรือรูปใบหอก โคนใบเบี้ยว และจะหลุดร่วงไปตามอายุ ดอก ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ที่ซอกใบและปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีขาวหรือเหลืองอ่อน กลีบดอกมีขนนุ่มสีน้ำตาล ดอกเล็กแต่กลิ่นหอมแรงมาก หอมร้อนๆ คล้ายกับแก้วกาหลง ดอกทยอยบานในเวลาใกล้เคียงกัน ออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน - มีนาคม ออกดอกมากที่สุด ช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์
-
ไม้ต้น
-
ลำต้น : ไม้ยืนต้น ลำต้นสูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร เส้นรอบวงประมาณ 20-40 เซนติเมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นขรุขระ
ใบ : ใบเดี่ยว การเรียงตัวของเส้นใบร่างแหแบบขนนก ใบรูปขอบขนาน ปลายใบติ่งแหลม โคนใบสอบเรียบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบคล้ายกระดาษ การเรียงใบแบบสลับ ด้านบนแผ่นใบเกลี้ยง สีใบด้านบนมีสีเขียว ท้องใบมีสีเขียวอ่อน ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่สีเขียว ใบมีขนาดกว้าง 5-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 14-20 เซนติเมตร
ดอก : ดอกช่อเชิงลด กลีบดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน 5 กลีบ เรียงเวียนกันเป็นกังหัน กลีบดอกมีขนนุ่มเป็นสีน้ำตาล กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก มีขนปกคลุม
ผล : ผลแห้งแก่แตกกลางพู มีลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม ผลมีลักษณะกลมรี ผิวผลเป็นขุยสีน้ำตาล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล มีขนาด 2.5-3 เซนติเมตร
เมล็ด : รูปทรงปลายแหลม ขนาดเล็ก เปลือกแข็ง 1 ผลมี 1 เมล็ด
การกระจายพันธุ์ :
-
Malay Pen, Pen Thailand
รายละเอียดอื่นๆ ของแหล่งที่พบ :
-
Fresh water swamp forest and limestone hills, 100 m.
-
อุทยานแห่งชาติ เขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด
การขยายพันธุ์ :
-
การตอนกิ่ง การปักชำ
แหล่งที่พบภายในประเทศ :
-
ระยอง
-
ฉะเฉิงเทรา
สถานภาพการคุกคาม
สถานภาพการคุกคาม (ไทย) :
-
สิ่งมีชีวิตที่มีสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ Vulnerable: VU (ONEP, 2549)
ที่มาของข้อมูล
ONEP Biodiversity Series Vol. 17 : Thailand Red Data : Plants (2006)
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินช้อนอันเนื่องมาจากพระระราชดำริ
องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หน่วยงานผู้นำเข้าข้อมูล
สิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง
Phenacovolva coarctata
Papilio chaon
นกขี้เถ้าใหญ่
Coracina
Myrmoteras cuneonodus
Rimelia reticulate
ปะการังวงแหวน
Dipsastraea truncatus
Previous
Next